วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
















เครื่องมือและอุปกรณ์ 1. พลั่วเล็กๆ สำหรับปลูกต้นไม้ อาจดัดแปลงจากช้อนก็ได้ 2. กรรไกรตัดกิ่งไม้ มีหลายขนาดตามความเหมาะสม 3. กรรไกรตัดแต่งก้านดอกไม้และใบไม้ 4. กรรไกรตัดกระดาษ หรือแผ่นพลาสติก 5. มีดคมๆ หรือคัตเตอร์ ใช้ตัดแต่งต้นไม้ 6. คีมตัดลวด หรือคีมปากจิ้งจก 7. ปากคีมสำหรับหยิบจับวัสดุตกแต่ง หรือต้นไม้เล็กๆ 8. ลวดขนาดต่างๆสำหรับดามต้นไม้ (ควรเป็นลวดที่หุ้มพลาสติก) 9. เทปพันก้าวดอกไม้ ( floral tape ) สีเขียวหรือน้ำตาล 10. แผ่นพลาสติกสีดำสำหรับบุรองภาชนะ(ใช้ถุงที่ค่อนข้างหนา) 11. เลื่อยมือเล็กๆ สำหรับเลื่อยตัดแต่งกิ่งไม้ ขอนไม้ ภาชนะสาน 12. ขวดฉีดน้ำ ไว้ฉีดล้างภาชนะและต้นไม้ให้สะอาด ใช้รดน้ำ 13. ของตกแต่ง เช่น รูปปั้น ตุ๊กตาเซรามิค 14. กาวใส กาวลาเท็กซ์ หรือ กาวแท่ง(ซึ่งต้องใช้กับปืนยิงกาว) 15. เครื่องปั๊มน้ำขนาดเล็ก สำหรับสวนที่มี น้ำพุ น้ำตก 16. แป้นหมุน สะดวกในการสำรวจมุมมองเวลาจัด ผ่อนแรงการยก 17. ภาชนะสำหรับจัด ภาชนะ ที่จะนำมาจัดมีให้เลือกมากมาย แต่ควรดูให้เหมาะกับชนิดของสวนถาด เช่น การจัดแบบแจกันดอกไม้ เลือกใช้ได้แทบทุกทรง ไม่ว่าจะทรงกลม ทรงยาว รางข้าวหมู กระเช้าสวน แจกันทรงต่างๆหากเป็นการจัดแบบทิวทัศน์ ก็ควรหากระถางหรือถาดแบบกว้างๆ เพื่อจัดเรื่องราวได้เด่นชัดขึ้น อาจเลือกแบบมีหูหิ้วเป็นกระเช้าก็ได้ เพื่อง่ายต่อการเคลื่อนย้ายภาชนะสำหรับจัดมีหลาบประเภทดังที่กล่าว และมีหลายขนาด ไม่ควรเลือกใหญ่มากจนยกย้ายลำบากหลังจากใส่ดินและปลูกต้นไม้แล้ว ที่จริงสวนถาดไม่มีขนาดจำกัด แต่ควรกำหนดสถานที่จัดวางไวแล้วลงมือจัดภาชนะที่จะนำมาจัดอาจไม่ต้องเสียเงินซื้อทุกชิ้น อาจดัดแปลงมาจากกระเช้าของขวัญเก่าๆ โดยพ่นสีที่ชอบเสียใหม่ หรือทายาชักเงาให้ดูใหม่ และกันน้ำได้ กระถางซีเมนต์หรือหินขัดบางใบอาจมีผิวสัมผัสที่ไม่ชอบ ลองโบกปูนที่ผสมสีแล้วลงไปใหม่ หรือทาสีเป็นธรรมชาติทับ ฉาบผิวให้ดูหยาบๆ ไม่ต้องขัดหรือไล้จนเนียน อาจดูคล้ายภาชนะที่สกัดจากหินทราย อย่าผสมสีจนสดเกินไป เพราะจะแข่งกับสีสดของดอกไม้ใบไม้ การดัดแปลงภาชนะ อาจเพ้นท์ลวดลายต่างๆ ลงไปให้สดใสแต่ควรเลือกกลุ่มพันธุ์ไม้ให้เหมาะมีสีไม่ขัดกัน ควรมีสีกลมกลืนกับภาชนะนอกจากนี้อาจยังคัดเลือกภาชนะเก่าๆ ที่จะทิ้งแล้วมาใช้เป็นการรีไซเคิลได้ เช่น กาน้ำ ถังสังกะสี อ่าง โลหะ หรือกะละมังพลาสติก อ่างล้างชาม เตาอั้งโล่เก่า ขวดน้ำอัดลมขนาดใหญ่หรือภาชนะพลาสติกอื่นๆพวกพลาสติกอาจนำมาตัดแต่งให้มีปากใหญ่เพียงพอสำหรับปลูกต้นไม้ เช่น ตัดขวดทางด้านข้างออก แล้วหาสิ่งอื่นๆมาทำฐานรับให้ขวดตั้งได้ นอกจากพ่นสีใหม่ อาจหาเชือกปอเถาวัลย์มาพันหรือติดกาว ทำให้ดูเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้นบางทีภาชนะเหลือใช้พวกนี้อาจไม่ต้องตกแต่งเพิ่ม ปล่อยให้มีขอบผุพัง ผิวเป็นสนิมจับก็สวยไปอีกแบบ เพราะจะขัดกับความสดชื่นของต้นไม้ภาชนะบางใบอาจเจาะรูระบายน้ำได้ด้วยตัวเองตามความต้องการ ยกเว้นพวกแก้วและเซรามิก คงต้องดูแลอย่างละเอียดละออแทน พวกไม่มีรูระบายอาจลองด้วยเกล็ดถ่านชิ้นเล็กๆ แต่ก็ระมัดระวังการใช้น้ำด้วย ใช้การฉีดสเปรย์น้ำ และอย่าวางสวนถาดนี้ไว้ที่ๆ มีแสงน้อยเกินไป น้ำจะระเหยได้ช้า สรุปขั้นตอนการจัด 1. ภาชนะ รองด้วยพลาสติกถ้าไม่ต้องการให้น้ำซึมจากรูระบายน้ำ หรือภาชนะสาน ภาชนะจะต้องการรูระบายน้ำหรือไม่ขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ไม้และสถานที่จัดวาง เพราะอาจซึมไหลเลอะเทอะ หรือไม่สะดวกในการยกย้ายไปรดน้ำ ภาชนะที่ค่อนข้างแน่นถี่ อาจไม่ต้องปูรองด้วยพลาสติก ถ้าใช้ปลูกพันธุ์ไม้ล้มลุก หรือไม้สวนครัวที่มีอายุการใช้งานไม่นาน ภาชนะคงยังไม่ทันผุพัง และไม้เหล่านี้ต้องการแสงจัด การระบายน้ำดี จึงไม่น่ามีปัญหาเรื่องการจัดวางและสกปรกเลอะเทอะ อาจรองก้นชั้นล่างสุดเกล็ดถ่านก็ได้ 2. การใส่เครื่องปลูก ดินปลูกรองชั้นล่างสุดด้วยเกล็ดถ่านสำหรับต้นไม้บางประเภท แต่ถ้าใช้ขุยมะพร้าวเป็นเครื่องปลูก ดังที่แนะไว้ หรือกระถางค่อนข้างตื้นก็ไม่จำเป็น ต้นไม้ที่มีตุ้มรากใหญ่เกินไป ตัดแต่งออกได้บ้าง หรือขุดดินในจุดที่จะปลูกต้นไม้ออกบ้าง ถ้าต้นไม้มีขนาดเล็กและเตี้ย แต่ถ้าต้องการให้ดูสูง หนุนด้วยดินใต้ตุ้มราก คล้ายทำเนินดินรองรับ 3. ปลูกต้นไม้ตามจุดที่กำหนด หลังจากปลูกต้นไม้ตามตำแหน่งที่ต้องการแล้ว เติมดินปลูกหรือเครื่องปลูกจนเกือบเต็ม กดเบาๆ รอบโคนไม้ให้แน่นกันต้นเอนเอียงในภายหลัง รากจะกระทบกระเทือน 4. ทำเนินดิน ทางลาด หรือแอ่งน้ำ พูนดินทำเนินกดให้แน่น ขุดดินออกบ้างบริเวณที่จะทำแอ่งน้ำ บ่อน้ำ เนินทำได้ง่ายๆ โดยการตักดินใส่ถ้วยแล้วคว่ำลงตรงจุดที่ต้องการ เติมดินรอบๆ โคนเพื่อแต่งฐานให้เป็นธรรมชาติ และกดให้แน่นแอ่งน้ำอาจใช้ก้นถ้วยกดลงไปเป็นทรงบ่อ และยังเป็นการแต่งดินในตัว ตามขอบบ่ออาจแต่งด้วยกรวด หิน มอส ทำให้ดูเป็นธรรมชาติขึ้น 5. ตกแต่งผิวหน้าดินให้สวยงาม ก่อนจะโรยกรวดหรือวัสดุปิดผิวดินอื่นๆ อาจโรยทรายหยาบเสียชั้นหนึ่งก่อน จะกรองดินไม่ให้กระเด็นขึ้นมาเลอะเทอะหลังรดน้ำ แต่ถ้าจะใช้มอส ควรปลูกหรือปะวางติดผิวดินได้ทันที 6. ทำความสะอาดด้วยน้ำ ใช้สเปรย์ฉีดน้ำไล่เศษดินทรายออกจากผิวใบไม้ วัสดุประกอบ และภาชนะ การดูแลรักษาสวนถาด 1. กลุ่มไม้ที่ชอบแสงจัด ได้แก่ไม้ดอกล้มลุก พืชสวนครัวควรจัดวางไว้ในที่ได้รับแสงตลอดวันหรืออย่างน้อยครึ่งวัน ภาชนะมีรูระบายน้ำดี รดน้ำวันละ 1 ครั้ง หรือรอบเย็นอีกครั้ง ถ้าดอกหรือใบมีอาการสลดเหี่ยวเฉาอาจใส่ปุ๋ยเพิ่มเติม ควรเป็นปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยเคมีเล็กน้อย ปุ๋ยเคมีถ้ามากไปดินจะเค็ม ต้นไม่อาจเฉาตาย ควรตัดแต่งใบเหี่ยวเฉาแก่เหลือง รวมทั้งดอกโรยทิ้งบ่อยๆไม้น้ำ ไม้น้ำก็ชอบแสงจัด ไม่งั้นจะไม่ผลิดอก ใบก็อาจเน่า ควรเติมน้ำให้เพียงพอเสมอ กำจัดหอยหรือแมลงเสมอ ช้อนตะไคร่น้ำหรือสิ่งสกปรกออก ดูแลน้ำให้ใสเสมอ ถ้าไม่มีปั้มน้ำพุ น้ำตก ควรโรยผิวดินปลูก(ดินเหนียว) ด้วยทรายหยาบ ตกแต่งด้วยกรวดหรือวางหินประดับ แต่ถ้าน้ำค่อนข้างนิ่ง เพราะไม่น้ำพุ น้ำตก อาจเกิดตะไคร้ตามผิวดิน กรวด หรือภาชนะภายใน ต้องหมั่นเก็บออกมาขัดหรือถ่ายน้ำเพื่อขัดภาชนะให้สะอาด 2. กลุ่มไม้อวบน้ำ พวกแคตตัส ซัคคิวเลนท์ และไม้ที่มีต้นใบอวบหนา ไม่ชอบน้ำขัง จึงต้องปลูกในภาชนะที่มีรูระบาย ดินโปร่งซุย ชอบแสงแดด แต่ไม่ควรจัด หรือวางในที่ได้รับแสงไม่ตลอดทั้งวันควรหลีกเลี่ยงแสงจัดยามเที่ยง บางชนิดจะไหม้ อาจวางไว้ริมหน้าต่างในบ้านได้ แต่ต้องหมั่นหมุนให้รับแสงทั่วๆกัน ไม่งั้นต้นจะเอน ยืด และเอียงไปทางเดียวกัน รดน้ำหรือฉีดน้ำ ทุกๆ 2-3 วันต่อครั้ง หรืออาจเป็น 5 วันก็ได้แล้วแต่ความเข้มอ่อนของแสงที่ได้รับ สังเกตุจากผิวหน้าดินปลูก และการเติบโตที่ผิดปกติของต้นไม้ 3. กลุ่มไม้ที่ชอบแสงร่ำไร ไม้กลุ่มนี้ชอบความชุ่มชื้นและแสงไม่จัดนัก อาจตั้งไว้ในบ้านที่มีแสงส่องถึงจากหน้าต่าง และหมั่นหมุนกระถางหรือถาดให้รับแสงทั่วๆ กัน ไม่งั้นต้นจะเอียงและยืด ภาชนะจะมีรูระบายหรือไม่ รดน้ำวันละครั้งก็เพียงพอควรวางไว้ในมุมที่ได้รับแสงอ่อนๆ โดยเฉพาะช่วงเช้าให้ปุ๋ยพวกปลดปล่อยช้า หรือปุ๋ยน้ำฉีดทางใบการดูแลสวนถาด ไม่ว่าต้นไม้ชนิดใด ก็คือ การให้น้ำ แสง และอาหารปุ๋ยเพียงพอไม่มากน้อยเกินไปตัดแต่งดอกใบที่แก่โรยหรือแมลงกัดกิน ทิ้งเสีย พยายามใช้วิธีธรรมชาติหลีกเลี่ยงสารเคมี การคำนวณต้นทุน การคำนวณต้นทุนหมายถึง การคิดคำนาณหาค่าใช้จ่ายทั้งหมดของการจัดสวนถาด 1 ถาด บวกด้วยค่ากำไร 10% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด เพราะการทำธุรกิจใดก็ตามต้องมีกำไรการจัดสวนถาดจึงต้องมีกำไรเช่นกัน ราคาประมินสวนถาด=ค่าใช้จ่ายทั้งหมด+10%ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดค่าใช้จ่ายทั้งหมดประกอบด้วยค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าเครื่องมือและค่ามือ ตัวอย่างการประเมินสวนน้ำตก 1 ถาด 1.ค่าวัสดุอุปกรณ์ ค่าถาด + ดินผสม +หิน + ต้นไม้ + รากไม้แก่นไม้ + ปั๊มน้ำขนาดเล็ก + อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำสระน้ำ+มอสส์ + ทรายสี = 300 2.ค่าเครื่องมือ จะคิดค่าเครื่องมือ 10% ของค่่าัวัสดุอุปกรณ์หรือของ 300= 30บาท 3.ค่ามือ ค่าความคิด (Idea) +ค่าแรง + ค่าเวลาของผู้จัดทำสวนถาดโดยไม่คิดค่าเขียนแปลนจะคิดเท่ากับค่าวัสดุอุปกรณ์ = 300 บาท ค่าใช้จ่ายทั้งหมด = ข้อ 1 +ข้อ 2 + ข้อ 3 = 300+30+300 =650 ค่ากำไรของผู้จัด 10% ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด = 63 บาท ราคาประเมินสวนถาดจึงเท่ากับ 630 + 63 = 693 บาท

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น